Faberge Eggs ในประวัติศาสตร์รัสเซีย ใบแรกและใบสุดท้าย
Updated : 17 กุมภาพันธ์ 2568 14:42
เทศกาลอีสเตอร์เป็นเทศกาลสำคัญของชาวคริสต์ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ตามประวัติศาสตร์ของคริสเตียน พระเยซูถูกตรึงในวันศุกร์ หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า “Good Friday” จากการสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ต่อมา 3 วัน พระเยซูก็ได้ฟื้นคืนพระชนม์ในวันอาทิตย์ และนั้นก็คือวันอีสเตอร์ (Easter Sunday) เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตและการให้อภัย สำหรับวันที่นั้นไม่มีระบุวันแน่นอน แต่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรก หลังพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 4 ซึ่งเป็นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี โดยจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน และสำหรับชาวรัสเซีย คริสเตียนออร์โธดอกซ์ (orthodox Christians) เทศกาลอีสเตอร์ก็ถือเป็นเทศกาลสำคัญเช่นเดียวกัน สำหรับชาวคริสต์จะใช้ไข่อีสเตอร์เป็นสัญลักษณ์แทนการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูทรงเอาชนะความตายและบาปผ่านการฟื้นคืนพระชนม์ สิ่งนี้ให้สัญญาแก่ผู้คนเกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์หากพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ไข่อีสเตอร์ยังได้เชื่อมโยงกับ อาหารมื้อเย็นมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งเป็นมื้ออาหารที่พระเยซูร่วมรับประทานกับอัครสาวกก่อนที่พระองค์จะถูกยูดาสทรยศ และประหารชีวิต อาหารมื้อสุดท้ายมีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลของชาวยิวที่รู้จักกันในชื่อ “ปัสกา” (Passover) และอาหารในพิธีปัสกา มักจะใส่ไข่ขาว จึงคาดได้ว่า ประเพณีของชาวคริสต์ที่เกี่ยวกับไข่อีสเตอร์มาจากไข่ปัสกานี้ ซึ่งในอดีตไข่อีสเตอร์ จะถูกย้อมเป็นสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งออกมา และสีทองซึ่งแสดงถึงไม้กางเขนสีทอง ที่มาจากภาพวาดของไม้กางเขนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะวาดรูปตกแต่งลวดลายไข่ให้สวยงามอย่างสนุกสนาน และนิยมกินไข่ในวันดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าหากกินไข่แล้วจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาสู่ชีวิตของเรา แต่ในจักรวรรดิรัสเซีย ได้นำแนวคิดในการมอบไข่อีสเตอร์แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถกินได้ ราชวงศ์รัสเซียเปลี่ยนมันเป็นไข่ที่มอบเป็นของขวัญ และถูกเนรมิตโดยฟาแบร์เช (FABERGÉ) ได้เปลี่ยนไข่ที่พบเห็นได้ทั่วไปให้กลายเป็นผลงานชิ้นเอกที่ประดับด้วยอัญมณี และเป็นที่เก็บรักษาเรื่องราวในอดีต บันทึกเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซียในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นอย่าง