เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์

09-00-18.00 น.

เราช่วยคุณได้

@buddytriptravel

Travel License : 11/08009

หน้าแรก

/

ข้อมูลท่องเที่ยว

/

เที่ยวรัสเซีย

Faberge Eggs  ในประวัติศาสตร์รัสเซีย  ใบแรกและใบสุดท้าย

Faberge Eggs ในประวัติศาสตร์รัสเซีย ใบแรกและใบสุดท้าย

228

เทศกาลอีสเตอร์เป็นเทศกาลสำคัญของชาวคริสต์ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ตามประวัติศาสตร์ของคริสเตียน พระเยซูถูกตรึงในวันศุกร์ หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า “Good Friday”  จากการสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ต่อมา 3 วัน พระเยซูก็ได้ฟื้นคืนพระชนม์ในวันอาทิตย์ และนั้นก็คือวันอีสเตอร์ (Easter Sunday)   เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตและการให้อภัย  สำหรับวันที่นั้นไม่มีระบุวันแน่นอน แต่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรก หลังพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 4 ซึ่งเป็นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี  โดยจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน   และสำหรับชาวรัสเซีย คริสเตียนออร์โธดอกซ์ (orthodox Christians) เทศกาลอีสเตอร์ก็ถือเป็นเทศกาลสำคัญเช่นเดียวกัน สำหรับชาวคริสต์จะใช้ไข่อีสเตอร์เป็นสัญลักษณ์แทนการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูทรงเอาชนะความตายและบาปผ่านการฟื้นคืนพระชนม์ สิ่งนี้ให้สัญญาแก่ผู้คนเกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์หากพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์   ไข่อีสเตอร์ยังได้เชื่อมโยงกับ อาหารมื้อเย็นมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งเป็นมื้ออาหารที่พระเยซูร่วมรับประทานกับอัครสาวกก่อนที่พระองค์จะถูกยูดาสทรยศ และประหารชีวิต อาหารมื้อสุดท้ายมีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลของชาวยิวที่รู้จักกันในชื่อ “ปัสกา” (Passover) และอาหารในพิธีปัสกา มักจะใส่ไข่ขาว จึงคาดได้ว่า ประเพณีของชาวคริสต์ที่เกี่ยวกับไข่อีสเตอร์มาจากไข่ปัสกานี้  ซึ่งในอดีตไข่อีสเตอร์ จะถูกย้อมเป็นสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งออกมา และสีทองซึ่งแสดงถึงไม้กางเขนสีทอง ที่มาจากภาพวาดของไม้กางเขนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์  เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะวาดรูปตกแต่งลวดลายไข่ให้สวยงามอย่างสนุกสนาน และนิยมกินไข่ในวันดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าหากกินไข่แล้วจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาสู่ชีวิตของเรา  แต่ในจักรวรรดิรัสเซีย ได้นำแนวคิดในการมอบไข่อีสเตอร์แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถกินได้  ราชวงศ์รัสเซียเปลี่ยนมันเป็นไข่ที่มอบเป็นของขวัญ และถูกเนรมิตโดยฟาแบร์เช (FABERGÉ)  ได้เปลี่ยนไข่ที่พบเห็นได้ทั่วไปให้กลายเป็นผลงานชิ้นเอกที่ประดับด้วยอัญมณี   และเป็นที่เก็บรักษาเรื่องราวในอดีต  บันทึกเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซียในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นอย่าง

ระฆังพระเจ้าซาร์ Tsar Bell ระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ระฆังพระเจ้าซาร์ Tsar Bell ระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลก

306

การสร้างระฆังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมรัสเซียในยุคก่อนอุตสาหกรรม  ในจักรวรรดิรัสเซีย  ซาร์ทรงสร้างระฆังให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นรูปแบบหนึ่งของการยกย่องชมเชยในหนึ่งเดียวระฆังถูกใช้เพื่อส่งสัญญาณว่ามีบางสิ่งที่สำคัญเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบอกให้ผู้คนมารวมตัวกันในพิธีทางศาสนา  เพื่อประกาศการเฉลิมฉลองและพิธีสำคัญต่างๆ  เพื่อแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือเตือนพวกเขาถึงการโจมตีของศัตรู ระฆังพระเจ้าซาร์   (Tsar Bell)  เป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ตีไม่ดัง เพราะมันแตกร้าวระหว่างกระบวนการหล่อ  เป็นระฆังที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระฆังซาร์โคโลโคล (Tsar Kolokol III )  ตั้งอยู่ที่พระราชวังเครมลิน ในกรุงมอสโกของรัสเซีย ด้วยขนาดความสูงถึง 6.14 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.6 เมตร น้ำหนักมากถึง 201,924 กิโลกรัม ลวดลายสลักรอบระฆัง  รายละเอียดการตกแต่งภาพนูนต่ำสไตล์บาโรก ( baroque )  ของพระฉายาลักษณ์จักรพรรดินีอันนา อิวานอฟนา  และซาร์อเล็กซี ( Empress Anna and Tsar Alexey ) ผู้ปกครองรัสเซีย นอกจากนี้ ซาร์เบลล์ยังแกะสลักภาพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารี และนักบุญอุปถัมภ์ของพวกเขาอย่างสวยงามอีกด้วยระฆังถูกสร้างขึ้นโดยโองการของจักรพรรดินีแอนนา อิวานอฟนา (Anna Ivanovna) หลานสาวพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter the Great)  จักรพรรดินีแอนนา ต้องการให้ช่างเครื่องของราชวงศ์ฝรั่งเศสทำระฆัง  แต่ถูกปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างระฆังที่ใหญ่ขนาดนั้น   งานนี้จึงถูกส่งต่อให้กับทีมพ่อและลูกชายของช่างฝีมือชาวรัสเซีย Motorin  ระฆังใบนี้จึงถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1730   ในการหล่อระฆังนั้น ได้มีการขุดหลุมลึก 10 เมตร อัดด้วยดินเหนียวและผนังเสริมด้วยดินแข็งเพื่อทนต่อแรงกดดันของโลหะหลอมเหลว โลหะจำนวนมากที่นำมาหล่อถือเป็นความท้าทาย นอกจากชิ้นส่วนของระฆังเก่าแล้ว ยังมีการเติมเงินอีก 525 กิโลกรัมและทองคำ 72 กิโลกรัม ลงในส่วนผสมด้วย หลังจากเตรียมการมาหลายเดือน ความพยายามครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ โปรเจ็กต์นี้ไม่สมบูรณ์เมื่อ Ivan Motorin ผู้เป็นพ่อได้เสียชีวิตในเดือนสิงหาคมปี 1735 มิคาอิล ลูกชายของเขาทำงานต่อไป ความพยายามครั้งที่สองประสบความสำเร็จในวันที่ 25 พฤศจิกายนปี 1735 เมื่อระฆังเย็นลงขณะยกขึ้นเหนือหลุมหล่อก่อนที่การตกแต่งครั้งสุดท้ายจะเสร็จสิ้น เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่เครมลินในเดือนพฤษภาคมปี 1737 ไฟเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วได้ลามไปยังโครงสร้างรองรับไม้สำหรับระฆัง และด้วยกลัวว่าจะเสียหาย เจ้าหน้าที่จึงสาดน้ำเย็นใส่ระฆัง ทำให้เกิดรอยแตก 11รอย และ ส่วนที่แตกใหญ่สุด  มีขนาดถึง 10,432.6 กิโลกรัม ไฟลุกไหม้ผ่านฐานไม้ และระฆังก็เสียหายตกลงไปในหลุมหล่อ ซาร์เบลล์ยังคงอยู่ในหลุมมาเกือบศตวรรษ  มีความพยายามยกระฆัง  ขึ้นแต่ไม่สำเร็จ   นโปเลียน  โบนาปาร์ต ระหว่างยึดครองมอสโกในปี  1812 พยายามถอดระฆังออกเพื่อนำกลับไปยังฝรั่งเศส   แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากขนาดและน้ำหนักของมัน จนกระทั่งถึงปี  1836 ระฆังดังกล่าวได้รับการยกขึ้นโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ออกุสต์ เดอ มงต์แฟร์รองด์ (Auguste de Montferrand ) ระฆังดังกล่าวถูกวางไว้บนแท่นหินขนาดใหญ่จนถึงในปัจจุบัน ผู้เรียบเรียง : คุณศิริวรรณ ตันเสถียร

ข้อมูลท่องเที่ยวต่างประเทศ

ข้อมูลท่องเที่ยวในประเทศ